Home | World Preview | Organized Tours | Package Tours | Information | Showcases | Contact Us | Webboard
![]() Passport (การทำพาสปอร์ต ) ขั้นตอนการยื่นขอหนังสือเดินทางใหม่ 1. รับบัตรคิว 2.ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก (หากไม่มีเลข 13 หลัก ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดง) พร้อมเอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่จำเป็น อาทิ หากเปลี่ยนชื่อสกุล ต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อนยามสกุล ทะเบียนสมรส ฯลฯ มาแสดง เพื่อตรวจสอบ 3. บันทึกข้อมูลชีวภาพ (วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ซ้ายและนิ้วชี้ขวาด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า ) 4. แจ้งความประสงค์หากต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์ หมายเหตุ ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท ( และค่าส่งไปรษณีย์ 35 บาทหากประสงค์ให้จัดส่งทางไปรษณีย์ ) รับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม หนังสือเดินทางฑูตและข้าราชการ หนังสือเดินทางฑูต ระเบียบการออกหนังสือเดินทางฑูต 1. ผู้มีสิทธิขอหนังสือเดินทางฑูต ได้แก่ (1) พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (2) พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส (3) พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ีราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ (4) ประธานองคมนตรี และองคมนตรี (5) นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี (6) ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา (7) ประธานศาลฎีกา รองประธานศลฎีกา และประธานศาลอุธรณ์ (8) ประธานศาลรัฐธรรมนูญและประธานศษลปกครองสูงสุด (9) อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ (10)ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารเหล่าทัพ (11)ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการฑูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ (12)ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการฑูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ในความดูแลของบิดามารดาในประเทศที่ประจำ อยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตร จะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี (13)คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ (2) ถึงข้อ (8) (14)บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็นหรือ เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียริคุณของประเทศ หรืออดีตเอกอัครราชฑูต หรือในกรณีที่เห็นสมควร ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ที่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศมอบหมาย มีอำนาจใช้ดุลยพินิจในการอนุมัติให้ออกหนังสือเดินทางฑูตได้ - หนังสือเดินทางฑูตมีอายุไม่เกิน 5 ปี ( ไม่สามารถต่ออายุ )เมื่อเสร็จภารกิจหรือผู้ถือขาดคุณสมบัติที่จะถือหนังสือเดินทางฑูตให้ส่ง หนังสือเดินทางฑูตนั้นแก่กระทรวงการต่างประเทศ เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางฑูต 1. หนังสือนำจากหน่วยราชการต้นสังกัตลงนามโดยปลัดกระทรวงหรือผู้ที่ได้รับมอบ หมายถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งขอให้ กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือเดินทางโดยแจ้งการอนุมัติให้เดิน ทางไปราชการ ณ ประเทศใด พร้อมระบุวัตถุประสงค์และกำหนดการเดินทาง 2. สำเนาบันทึกอนุมัติตัวบุคคลให้เดินทางไปราชการต่างประเทศ 3. บัตรประจำตัวข้าราชการพร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือเดินราชการ ระเบียบการออกหนังสือเดินทางราชการ หนังสือเดินทางราชการเป็นหนังสือที่กระทรวงการต่างประเทศออกให้แก่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญและ สมาชิก รัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการ ในต่างประเทศและบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติ หนังสือเดินทางราชการมีอายุไม่เกิน 5ปีเมื่อเสร็จภารกิจหรือผู้ถือขาดคุณสมบัติที่จะถือหนังสือเดินทาง ราชการให้ส่งหนังสือเดินทางราชการ นั้นแก่กระทรวง การต่างประเทศ ทั้งนี้ผู้ถือหนังสือเดินทางราชการจะนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัวไม่ได้ เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางราชการ 1. หนังสือนำจากหน่วยงานราชการต้นสังกัดลงนามโดยปลัดกระทรวง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายถึงปลัดกระทรวงต่างประเทศ แจ้งขอให้ กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือเดินทาง โดยแจ้งการอนุมัติให้เดินทางไปราชการ ณ ประเทศใด พร้อมระบุวัตถุประสงค์และกำหนดการเดินทาง และระบุผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประเทศ 2. สำเนาบันทึกอนุมัติตัวบุคคลให้เดินทางไปราชการต่างประเทศ 3.บัตรประจำตัวข้าราชการและบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลักพร้อมสำเนา 4. สำเนาทะเบียนบ้าน ค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมในการขอหนังสือเดินทางราชการ 1,000 บาท สามารถนำใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานเบิกคืนจากหน่วยงานต้นสังกัด หนังสือเดินทางพระ เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางพระภิกษุสามเณร 1. เอกสารแสดงการได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ ตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคมว่า ด้วยวิธีการปฏิบัติในการไปต่างประเทศสำหรับ พระภิกษุสามเณร (หนังสืออนุมัติจาก ศ.ต.) 2. ใบสุทธิพระภิกษุสามเณร 3. สำเนาทะเบียนบ้าน/วัด 4. สำเนาใบตราตั้ง กรณีประสงค์ให้ระบุสมณศักดิ์ในหนังสือเดินทาง ค่าธรรมเนียม การทำหนังสือเดินทางเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ 1. หนังสือรับรองจากสำนักจุฬาราชมนตรีหรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดรับรองการไปประกอบพิธีฮัจญ์ 2. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทย 3. ถ้าผู้ไปประกอบพิธีฮัจญ์เป็นผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะให้ยึดระเบียบการทำ หนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี หรือผู้เยาว์ที่มี อายุระหว่าง 15-20 ปี แล้วแต่กรณี ค่าธรรมเนียม การทำหนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์มีค่าธรรมเนียม 400 บาท และหนังสือเดินทางมีอายุ 2 ปี บุคคลบรรลุนิติภาวะ เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของบุคคลบรรลุนิติภาวะ 1. บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุการใช้งาน หรือบัตรข้าราชการหรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง (ในกรณีที่เป็นบัตรข้าราชการให้นำสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย ) 2. หากมีรายการแก้ไขชื่อสกุล หรือวันเดือนปีเกิด ฯลฯ ซึ่งไม่ตรงกับบัตรประชาชนให้นำหลักฐานการแก้ไขที่เกี่ยวข้องมาแสดงด้วย ค่าธรรมเนียม การทำหนังสือเดินทางใหม่เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี ระเบียบการขอหนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี ผู้ เยาว์อายุต่ำกว่า 15ปี ต้องนำสูติบัตรฉบับจริง หากเป็นสำเนาถูกต้องได้รับการรองสำเนาถูกต้องจาก อำเภอ/เขตมาแสดงพร้อมผู้มี อำนาจปกครอง หากผู้มีอำนาจปกครองไม่สามารถมาดำเนินการได สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนได้ โดยมีหนังสือมอบ อำนาจ และหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ พร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชน ของบิดามารดาและ/หรือผู้มีอำนาจปกครอง ฉบับจริงมาแสดง ทั้งนี้หนังสือมอบอำนาจและหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศต้องผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขต เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี 1. สูติบัตรฉบับจริง หากเป็นสำเนาสูติบัตรต้องได้รับการรองรับจากอำเภอ/เขต 2. บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือบัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ของบิดา มารดาหรือผู้มีอำนาจปกครอง ฉบับจริง หากชื่อนามสกุลบิดา มารดาในสูติบัตรไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุลที่เป็นต้นฉบับ มาแสดงด้วย ในกรณีที่มารดาหย่า และจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามี ให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้น ฉบับมาแสดงด้วย 3. หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศและบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดามารดาที่ไม่มา ในกรณีที่บิดามารดาฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดไม่สามารถมาแสดงตัวได้ 4. เอกสารอื่นๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรอง บุตรหรือบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาหรือมารดาเป็นต้น 5. กรณีบิดา มารดาผู้เยาว์เสียชีวิต / บิดามารดาผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติมิได้จดทะเบียนสมรสและ ไม่สามารถตามหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ ความยินยอมได้ ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครองพร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ มีอำนาจการปกครองมาแสดง ค่าธรรมเนียม การทำหนังสือเดินทางใหม่เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท แบบฟอร์มหนังสือยินยอม ผู้เยาว์อายุระหว่าง 15-20 ปี ระเบียบการขอหนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุระหว่าง 15-20 ปี ผู้เยาว์ที่อายุระหว่าง 15-20 ปี สามารถติดต่อขอทำหนังสือเดินทางด้วยตนเอง โดยมีหนังสือยินยอมของบิดามารดา หรือผู้มีอำนาจมาแสดง ประกอบการยื่นคำร้อง หรือ โดยให้บิดามารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์มาลงนามในวันที่ยื่นคำร้อง หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาไม่ได้ ให้มา ลงนามในวันรับเล่มหรือ มีหนังสือยินยอม จากฝ่ายที่มาให้ได้มาแสดง กรณีที่ผู้เยาว์ทำบัตรประจำตัวใหม่ หรือยังถือบัตรเหลือง (ใบแทนบัตรประจำตัวประชาชนชั่วคราว ) ซึ่งบางกรณียังไม่สามารถตรวจสอบรูปถ่าย ในบัตรกันข้อมูลของกระทรวงมหาดไทยได้ ให้บิดาหรือมารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ มายืนยันตัวผู้เยาว์ต่อเจ้าหน้าที่รับคำร้อง หรือนำ เอกสารการศึกษาที่ติดรูปถ่ายมายืนยันแทน เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์อายุระหว่าง 15-20 ปี 1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทย 2. หนังสือยินยอมและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครองพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง เอกสารประกอบการต่ออายุและแก้ไขหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์ที่มีอายุระหว่าง 15-20 ปี 1. หนังสือเดินทาง ที่มีอายุการใช้งานเหลือไม่ถึง 6 เดือน หรือหมดอายุไปแล้วไม่เกิน 6 เดือน ของผู้เยาว์พร้อมสำเนาหน้าที่มีรูปถ่าย 2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทยของผู้ถือหนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา 3. บิดา มารดา ต้องมาลงนามยินยอหากไม่สามารถมาด้วยตนเองสามารถยินยอมในแบบฟอร์มที่กำหนดไว้โดยไม่ต้องผ่าน การรับรองจาก อำเภอ/เขต แบบฟอร์มหนังสือยินยอม 4. บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน และทะเบียนสมรสหรือบันทึกการหย่าของบิดา มารดา 5. ในกรณีที่ผู้มีอำนาจปกครองมิใช่ บิดา มารดา ให้ใช้บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจปกครองแทน 6. รูปถ่ายของผู้เยาว์สี ที่ไม่ใช่รูปโพลาลอยด์ ถ่ายไว้ไม่เกิน6 เดือน ขนาด 2 นิ้ว 1 รูป 7. เอกสารอื่นๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือบุตรบุญธรรม เป็นต้น ค่าธรรมเนียม 1. การทำหนังสือเดินทางใหม่เสียค่าธณรมเนียม 1,073 บาท สำหรับหนังสือเดินทาง32 หน้า (รวมค่าถ่ายรูปดิจิตอลและค่าอากรแสตมป์) 2. การต่ออายุหนังสือเดินทางเสียค่าธรรมเนียม 1,005 บาท (รวมค่าอาการแสตมป์ ) การรับหนังสือเดินทาง ประสงค์จะขอให้ผู้อื่นมารับแทน จะต้องทำอย่างไร 1. หากมารับด้วยตนเองหรือบุคคลในครอบครัวสามารถใช้บัตรประชาชนพร้อมใบรับหนังสือเดินทาง 2. หากให้บุคคลอื่นมารับแทนต้องแสดงสำเนบัตรประชาชนของผู้ถือหนังสือเดินทาง ใบรับหนังสือเดินทางไปแสดง พร้อมบัตรประชาชน พร้อมสำเนาของผู้รับแทน - มีบริการจัดส่งหนังสือทางไปรษณีย์หรือไม่มี สามารถแสดงความจำนงเมื่อยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทาง ณ ที่ทำการ การแก้ไขหนังสือเดินทาง หนังสือ เดินทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อ-นามสกุล หรือสถานภาพการสมรส ทั้งนี้เนื่องมากจากตามข้อกำหนดของ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) การเขียนข้อมูลในไมโครชิพทำได้เพียงครั้งเดียวและไม่สามารถนำข้อมูลที่แก้ไข เขียนเพิ่มเติม ลงในไมโครชิพได้ อย่างไรก็ดีหากเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ไม่ได้จัดเก็บในไมโครชิพสามารถ บันทึกการแก้ไขในเล่มได้ 2 กรณีได้แก่ 1. การเปลี่ยนแปลงลายเซ็น และ 2. การบันทึกการถือหนังสือเดินทางเล่มเดิมเนื่องจากเล่มเดิมมีวีซ่าที่ยังมีอายุใช้งานแทนการผนวกเล่ม การยื่นคำร้องขอแก้ไขหนังสือเดินทาง แบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ 1. ผู้ถือหนังสือเดินทางต้องมาย่นคำร้องขอด้วยตัวเอง - การเปลี่ยนลายเซ็น - การบันทึกการถือหนังสือเดินทางเล่มเดิมที่มีวีซ่ายังมีอายุการใช้งานลงในหนังสือเดินทางเล่มใหม่ 2. เอกสารที่ต้องนำมาแสดง หนังสือเดินทางเล่มเดิม พร้อมบัตรประชาชน ค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมรายการละ 100 บาท การยกเลิกหนังสือเดินทางและการทำลายหนังสือเดินทาง การยกเลิกหนังสือเดินทาง กองหนังสือเดินทางจะยกเลิกหนังสือเดินทางฉบับเก่าเมื่อผู้ขอได้รับ หนังสือเดินทางฉบับใหม่แล้ว และในกรณีที่ผู้ขอทำหนังสือแสดงความจำนง ให้จัดส่งหนังสือเดินทางโดยไปรษณีย์ กองหนังสือเดินทางจะยกเลิกหนังสือเดินทางฉบับเก่าในวันที่จัดส่งหนังสือเดิน ทางเล่มใหม่ทางไปรษณีย์ การทำลายหนังสือเดินทาง หากผู้ยื่นขอหนังสือเดินทางไม่มารับเล่มตามกำหนดภายใน 90 วัน กองหนังสือเดินทางขอสงวนสิทธิ์ในการทำลายหนังสือเดินทางนั้น หนังสือเดินทางสูญหาย - สูญหายในประเทศ ต้องติดต่อแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและรับแจ้งความจากเจ้าพนักงาน ตำรวจมายื่น ขอทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่ และยกเลิกการใช้งานหนังสือเดินทางฉบับที่สูญหาย - สูญหายในต่างประเทศ ต้องแจ้งควาหนังสือเดินทางสูญหายต่อทางการท้องถิ่น และนำใบรับแจ้งความดังกล่าวนั้นพร้อมเอกสารแสดงการมี สัญชาติไทยของตนหรือ เอกสารทะเบียนราษฎรที่มีอยู่ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ฯลฯ ไปติดต่อที่สถานฑูต สถานกงสุลไทยที่ ใกล้ทีุ่สุด เพื่อขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ หากในกรณีที่ผู้ทำหนังสือเดินทางสูญหายต้องเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการ เร่งด่วน ไม่สามารถรอรับหนังสือ เดินทางได้ สถานฑูตกงสุล จะออกเป็นเอกสารเดินทาง ( Certificate of Identity) ให้ใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้ครั้งเดียว เมื่อกลับถึงประเทศไทยแล้วเอกสารการเดินทาง จะหมดอายุการใช้งาน การตรวจลงตรา (VISA) หากมีการตรวจลงตรา (VISA) ที่ยังมีอายุอยู่ในหนังสือเดินทางฉบับเก่า จะสามารถนำไปผนวกกับเล่มหนังสือเ้ดินทางฉบับใหม่ได้หรือไม่ - ไม่สามารถผนวกเล่มเดิมกับเล่มใหม่ แต่สามารถยื่นคำร้องขอบันทึกการถือหนังสือเดินทางเล่มเดิมในเล่มใหม่ และสามารถนำวีซ่าในเล่มเดิม ที่ยังมีอายุใช้งานคู่กับหนังสือเดินทางเล่มใหม่ ทำไมต้องเดินทางไปต่างประเทศจึงต้องมีหนังสือเดินทางที่มีอายุเหลือมากกว่า 6 เดือน - ถือเป็นหลักการปฏิบัติและเ้ป็นกฎเกณฑ์สำหรับบางประเทศที่จะต้องมีหนังสือ เดินทางที่มีอายุเหลือมากกว่า 6 เดือนก่อนการเดินทางออกนอก ประเทศ หากหนังสือเดินทางกำลังจะหมดอายุก่อน จะต้องยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางใหม่ ทั้งนี้ ควรตรวจสอบกับสถานฑูตสถานกงสุลของประเทศ ที่กำลังจะเดินทางเกี่ยวกับข้อกำหนด ต่างๆ ก่อนเดินทาง การรับหนังสือเดินทาง การ รับหนังสือเดินทางจะต้องนำใบรับนัดพร้อมบัตรประชาชน หรือเอกสารเพิ่มเติมตามสที่เจ้าหน้าที่ร้องขอให้นำมายื่นในวันรับหนังสือ เดินทาง ซึ่งผู้ที่ยื่นคำร้องในเขตกรุงเทพฯ จะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 2 วันทำการไม่นับวันที่ยื่นคำร้อง และผู้ที่ยื่นคำร้องในต่างจังหวัดจะได้รับหนังสือ เดินทางภายใน 10 วันทำการ นับจากวันที่ยื่นคำร้อง หมายเหตุ 1. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มีอายุการใช้งาน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุ เมื่อหมดอายุต้องทำเล่มใหม่เสียค่าธรรมเนียม1,000 บาท 2. หนังสือเดินทางที่สามารถใช้งานได้จะต้องมีอายุการใช้งาน 6 เดือน โปรดตรวจสอบหนังสือเดินทางของท่าน เพื่อให้มีเวลายื่นคำขอทำหนังสือ เดินทางเล่มใหม่ก่อนกำหนดการเดินทาง หากมีอายุไม่ถึง 6 เดือนจะไม่สามารถใช้เดินทางได้ ประกาศและคำเตือนเกี่ยวกับการมีหนังสือเดินทาง 1. ห้ามใช้เอกสารของบุคคลอื่นหรือปลอมแปลงเอกสารของตนเองเพื่อใช้เป็นหลักฐานใน การยื่นขอหนังสือเดินทาง การกระทำดังกล่าวที่ขัดต่อ ระเบียบการทำหนังสือเดินทาง ผิดกฎหมายฐานแจ้งความเท็จและปลอมแปลงเอกสาร 2 . ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปต่างประเทศ ควรยื่นของหนังสือเดินทางล่วงหน้าเป็นระยะเวลาพอสมควรก่อนวันเดินทาง สำหรับท่านที่ยื่นคำร้องขอ หนังสือเดินทางในกรุงเทพฯ จะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 3 วันทำการ นับจากวันที่ยื่นคำร้องขอ สำหรับผู้ที่ยื่นร้องขอทำหนังสือเดินทางในต่างจังหวัด จพได้รับหนังสือเดิน ทางภายใน 10 วัน 3 . ผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นระยะเวลานาน ควรแจ้งชื่อ ที่อยู่ในสถานเอกอัคราชทูตหรือกงสุลไทยในประเทศที่เดินทางไปพำนักทราบ รวมทั้ง แจ้งการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ทุกครั้ง เพื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยสามารถติดต่อท่านได้ในยามฉุกเฉิน 4. หนังสือเดินทางเป็นเอกสารอันมีค่า ไม่ควรให้ตกไปอยู่ในความครอบครองของบุคคลที่มิได้รับมอบหมาย บุคคลสัฐชาติไทยถือหนังสือเดินทาง ได้ฉบับเดียว หากหนังสือเดินทางสูญหาย ผู้ถือจะต้องแจ้งกองหนังสือเดินทาง หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่น หรือสถานฑูต สถานกงสุลไทยทราบทันที 5. โปรดหลีกเลี่ยงการมาใช้บริการขอหนังสือเดินทางในช่วงต้นสัปดาห์ โดยเฉพาะวันจันทร์ ทั้งนี้เนื่องจากมีผู้ที่มาใช้บริการหนาแน่นในช่วงเวลาดังกล่าว อันเป็นเหตุให้ท่านผู้มาใช้บริการต้องใช้เวลาค่อนข้างนานในการรอลำดับการ ยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทาง คำแนะนำในการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 .ห้ามขีดเขียน แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายในเล่มหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 2 . ห้ามแกะ ตัดเย็บ เจาะรู หรือกระทำใดๆ ที่อาจทำให้ปกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้รับความเสียหาย 3 . ห้ามตัด งอ บิด หรือกระทำการใดๆ ที่อาจทำให้หนังสือทางอิเล็กทรอนิกส์ยับย่น หรือ เปลี่ยนรูปไปจากเดิม 4 . ไม่ควรเก็บหนังสือเดินทางไว้ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก หรือสนามไฟฟ้าสูง และบริเวณที่มีคลื่นความถี่วิทยุ เช่นโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือ ไมโครเวฟ 5 . หลีกเลี่ยงการวางวัตถุสิ่งของที่มีน้ำหนักมากบนหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 6 . ควรเก็บหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในห้องที่แห้ง อากาศเย็น ไม่อับชื้น 7 . หลีกเลี่ยงการนำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าใกล้วัตถุที่มีความร้อน ซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า 50 องศาเซลเซียส สถานที่มีแสงแดดส่องถึง ได้เป็นเวลานาน สถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เปียกแฉะ สัมผัสน้ำ หรือสถานที่ใกล้สารเคมีต่างๆ รวมทั้งสถานที่ที่มีฝุ่นละออง 8 . กระทรวงต่างประเทศจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหนังสือเดิน ทางอิเล็กทรอนิกส์ อันเนื่องจากสาเหตุต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น Re-Entry คนต่างด้าวซึ่งทำงานในประเทศ เดินทางออกไปนอกประเทศ ในช่วงเวลาที่วีซ่ายังไม่หมดอายุ และประสงค์จะกลับเข้ามาใหม่อีก หรืออาจต้อง เดินทางเข้าออกอีกหลายครั้ง ก่อนวีซ่าจะหมดอายุ จะต้องแจ้งขอกลับเข้ามาโดยใช้ แบบ ตม.8 - คำร้องขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักร โดยยื่นเอกสารตามที่ ตม. กำหนด เพื่อ ประทับตรา RE-ENTRY ตม.8 ดาวน์โหลด
เวลาในการขออนุญาต ยื่นที่ ตม. - ยื่นเช้่าได้ บ่าย - ยื่นบ่าย ได้ เช้าวันถัดไป ยื่นที่ One Stop - รอรับได้ สถานที่ติดต่อ
|